บริษัทรับเหมาติดตั้งโซล่าเซลล์ หรือ Solar EPC คืออะไร?
บริษัทรับติดตั้งโซล่าเซลล์หรือ Solar EPC คือผู้ให้บริการออกแบบ ติดตั้ง และจัดหา วัสดุอุปกรณ์ในการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ บนหลังคาสำหรับโรงงาน อาคาร หรือบ้านพักอาศัยตลอดจนขอใบอนุญาตที่เกี่ยวข้อง
การติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ บนหลังคา หรือ Solar rooftop ช่วยลดค่าไฟได้มากแค่ไหน?
การติดโซล่าเซลล์บนหลังคาโรงงานช่วยลดค่าไฟฟ้าได้ถึง 20-50% ต่อเดือน ขึ้นอยู่กับปริมาณการใช้ไฟฟ้าและกำลังการผลิตของระบบโซล่าเซลล์ที่ติดตั้ง
ติดตั้งโซล่าเซลล์บนหลังคาบ้านพักอาศัยต้องใช้งบประมาณเท่าไหร่?
ราคาติดตั้งโซล่าเซลล์สำหรับบ้านพักอาศัยเริ่มต้นที่ 90,000 บาท โดยขึ้นอยู่กับขนาดระบบและชนิดแผงโซล่าเซลล์และที่เลือกใช้
ข้อพิจารณาในการติดตั้งโซล่าเซลล์บนหลังคา หรือ Solar rooftop คืออะไรบ้าง?
มีพฤติกรรมในการใช้ไฟกลางวันเป็นหลัก และโครงสร้างหลังคาสามารถรับน้ำหนักเพิ่มได้อย่างน้อย 30 กิโลกรัม วัสดุมุงหลังคาไม่ใช่กระเบื้องดินเผา กระเบื้องกาบกล้วย
ระบบติดตั้งโซล่าเซลล์บนหลังคาหรือระบบผลิตไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์มีแบบไหนบ้าง?
1.ระบบ ON GRID เป็นระบบที่ใช้กับบริเวณที่มีไฟฟ้าเข้าถึง เชื่อมต่อกับระบบการไฟฟ้านครหลวง
หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (สำหรับไฟ 1 เฟส : ระบบไม่เกิน 5kW และ สำหรับไฟ 3 เฟส : ระบบไม่เกิน 10 kWp) จะใช้อุปกรณ์เพียงแผงโซล่าเซลล์ และอินเวอร์เตอร์เท่านั้น
- เมื่อใช้แล้วเหลือสามารถขายไฟฟ้าคืนได้
- กรณีที่ไฟฟ้าจากการไฟฟ้าดับ ระบบจะหยุดทำงาน
- การดูแลรักษาง่าย คืนทุนไวที่สุด ภายใน 4 ปี
2. ระบบ OFF GRID เป็นระบบที่เหมาะสมสำหรับพื้นที่ที่ไฟฟ้าเข้าไม่ถึง เช่น ที่นา ที่ไร่ สวน บนดอย และเกาะ
- อุปกรณ์เยอะ ยุ่งยาก ต้องมี control charge ต่อกับแผง ผลิตไฟแล้วส่งต่อมายังแบตเตอรี่เพื่อกักเก็บไฟ แล้วต่อมายังอินเวอร์เตอร์สำหรับแปลง
- ไฟ dc 12 v เป็น 220 v เพื่อนำไปใช้งานกับอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ไฟฟ้า 220 v
- แบตเตอรี่ ราคาสูง มีค่าบำรุงรักษามากมายทำให้คืนทุนช้า
3.ระบบ HYBRID เป็นส่วนผสมระหว่างระบบ Off Grid และ On Grid คือ มีการใช้ไฟจากทั้งการไฟฟ้า ไฟที่ผลิตได้จากแผงโซลาร์และไฟจากแบตเตอร์รี่ ในกรณีที่แผงโซลาร์ผลิตกระแสไฟฟ้ามากเกินกว่าการใช้งานแบตเตอรี่จะกักเก็บไฟ และสามารถดึงมาใช้ในช่วงเวลากลางคืน
- ระบบไฮบริดจะไม่สามารถขายกระแสไฟให้กับภาครัฐได้
- แบตเตอรี่มีราคาสูงมาก ทำให้มีระยะเวลาคืนทุน ไม่คุ้มค่าการลงทุน
แผงโซล่าเซลล์ หรือ PV MODULE มีกี่ประเภท?
1. MONO CRYSTALLINE
- ผลิตจากแท่ง silicon ที่มีความบริสุทธิ์
- ประสิทธิภาพการผลิตไฟ 19 -23%
- อายุใช้งานเกิน 25 ปี
- ทำงานได้ดีในภาวะแสงน้อย
2. POLY CRYSTALINE
- ผลิตจาก multi silicon (เหลว)
- ประสิทธิภาพการผลิตไฟ 13 -18 %
- อายุใช้งานไม่ถึง 20 ปี
- ราคาถูก
3. THIN FILM
- ผลิตจากสารที่เปลี่ยนแสงให้เป็นไฟฟ้า
- ประสิทธิภาพการผลิตไฟ 5 - 7 %
- อายุใช้งานไม่ถึง 10 ปี
ต้องการติดตั้งโซล่าเซลล์บนหลังคาเพื่อ ประหยัดไฟให้ได้ 50% ของค่าไฟ และคืนทุนไว ต้องทำอย่างไร?
1. 50%ของค่าไฟต้องมาจากการใช้ไฟกลางวันเป็นหลัก
2. ทิศในการติดตั้งแผงโซล่าหรือหลังคาบ้านหันแดดในรับทิศใต้ โดยไม่มีอะไรมาบดบัง
3. ตู้ไฟฟ้าหลักของบ้าน หรือ อาคาร ต้องอยู่ใกล้กับการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์
4. แผงโซล่าเซลล์ได้รับการทำความสะอาดอยู่เสมอ ไม่มีรอยแตกร้าว
5. แผงโซล่าเซลล์ เป็นแบบ Mono Crystalline half cut cell
หลังคาอาคารแบบไหนเหมาะสมกับการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์บนหลังคาโดยไม่เกิดการรั่วซึมของน้ำฝน แผงโซล่าเซลล์ยึดติดได้ดี แข็งแรงปลอดภัย?
1. หลังคา METAL SHEET
2. หลังคาซีแพคโมเนีย
3. หลังคาคอนกรีต
4. หลังคากระเบื้องลอนคู่
การประเมินกำลังการผลิตในการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา หรือการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ (Solar Rooftop ) สำหรับงานบ้านพักอาศัยเป็นอย่างไร?
บริษัทออกแบบ รับเหมาติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ หรือ Solar EPC จะประเมินให้จากหน่วยการใช้ไฟที่ระบุในบิลค่าไฟ เบื้องต้นหากมีการใช้ไฟในช่วงกลางวันอย่างน้อย 50% และ
- มีอัตราค่าไฟอยู่ที่ 2000 - 3000 บาท กำลังผลิตที่เหมาะสมคือติดตั้งขนาด 1 - 3 kWp ประหยัดได้ 1000 - 1500 บาท
- มีอัตราค่าไฟอยู่ที่ 3000 - 5000 บาท กำลังผลิตที่เหมาะสมคือติดตั้งขนาด 5 kWp ประหยัดได้ 1500 - 2500 บาท
- มีอัตราค่าไฟอยู่ที่ 5000 - 8000 บาท กำลังผลิตที่เหมาะสมคือติดตั้งขนาด 5 - 8 kWp ประหยัดได้ 2500 - 4000 บาท
- มีอัตราค่าไฟอยู่ที่ 9000 - 12000 บาท กำลังผลิตที่เหมาะสมคือติดตั้งขนาด 9 - 10 kWp ประหยัดได้ 4500 - 6000 บาท
- มีอัตราค่าไฟอยู่ที่ 13000 - 15000 บาท กำลังผลิตที่เหมาะสมคือติดตั้งขนาด 12 - 15 kWp ประหยัดได้ 6500 - 7500 บาท
- มีอัตราค่าไฟอยู่ที่ 16000 - 20000 บาท กำลังผลิตที่เหมาะสมคือติดตั้งขนาด 16 - 20 kWp ประหยัดได้ 6500 - 7500 บาท
ค่าใช้จ่ายในการออกแบบ รับเหมา ติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ หรือ Solar Rooftop สำหรับบ้านพักอาศัยอยู่ที่เท่าไหร่ ?
ติดตั้ง 5 kw ราคา 180,000 บาท
ติดตั้ง 10 kw ราคา 229,500 บาท
ติดตั้ง 15 kw ราคา 300,000 บาท
ติดตั้ง 20 kw ราคา 360,000 บาท
การติดตั้งโซล่าเซลล์บนหลังคา หรือ Solar Rooftop สามารถลดค่าไฟฟ้าเทียบเท่ากับการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าใดบ้างในบ้าน ?
ติดตั้ง 3 kw เทียบเท่า หลอดไฟ Led 7 หลอด ทีวี 1 เครื่อง ตู้เย็น 1 เครื่อง แอร์ 1 เครื่อง
ติดตั้ง 5 kw เทียบเท่า หลอดไฟ Led 15 หลอด ทีวี 2 เครื่อง ตู้เย็น 2 เครื่อง แอร์ 2 เครื่อง
ติดตั้ง 10 kw เทียบเท่า หลอดไฟ Led 20 หลอด ทีวี 4 เครื่อง ตู้เย็น 3 เครื่อง แอร์ 3 เครื่อง
ติดตั้ง 15 kw เทียบเท่า หลอดไฟ Led 25 หลอด ทีวี 5 เครื่อง ตู้เย็น 3 เครื่อง แอร์ 4 เครื่อง
ติดตั้ง 20 kw เทียบเท่า หลอดไฟ Led 27 หลอด ทีวี 6 เครื่อง ตู้เย็น 3 เครื่อง แอร์ 5 เครื่อง
ในการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา ( Solar Rooftop ) หรือ ระบบโซล่าเซลล์ บนหลังคาบ้านพักอาศัย ต้องมีที่ว่างบนหลังคาบ้านประมาณกี่ตารางเมตร?
ติดตั้ง 3 kw ใช้พื้นที่ 16 ตรม.
ติดตั้ง 5 kw ใช้พื้นที่ 24 ตรม.
ติดตั้ง 10 kw ใช้พื้นที่ 50 ตรม.
ติดตั้ง 15 kw ใช้พื้นที่ 75 ตรม.
ติดตั้ง 20 kw ใช้พื้นที่ 100 ตรม.
แผงโซล่าเซลล์หรือ PV Module 1 แผง มีกำลังผลิตเท่าไหร่ และบ้านพักอาศัยที่ต้องการติดระบบโซล่าเซลล์บนหลังคา ( Solar Rooftop ) ควรต้องติดตั้งทั้งหมดกี่แผง?
ปัจจุบัน แผงโซล่าเซลล์ที่จำหน่ายอยู่ในท้องตลาด มีกำลังผลิตสูงสุดอยู่ที่ 710 watt /แผง
ยี่ห้อแผงโซล่าเซลล์หรือ Photovoltaic Module Brand ที่เป็นที่นิยม และอยู่ใน TIER 1 หรือ top 10 ของโลก มียี่ห้ออะไรบ้างที่มีตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทย ?
1. Brand Longi กำลังผลิต 445 – 630 watt / แผง
2. Brand Jinko กำลังผลิต 430 - 720 watt / แผง
3. Brand JA Solar กำลังผลิต 460 – 640 watt / แผง
4. Brand Trina กำลังผลิต 450 – 725 watt / แผง
5. Brand Tongwei กำลังผลิต 400 – 670 watt / แผง
6. Brand Canadian Solar กำลังผลิต 380 – 625 watt / แผง
7. Brand Chint/Astronergy กำลังผลิต 460 – 720 watt / แผง
8. Brand Risen กำลังผลิต 400 – 740 watt / แผง
9. Brand DAS Solar กำลังผลิต 420 – 645 watt / แผง
10. Brand GCL System กำลังผลิต 420 – 675 watt / แผง
อุปกรณ์หลักในการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา หรือ ระบบโซล่าเซลล์ บนหลังคา (SOLAR ROOFTOP) ได้แก่อะไรบ้าง?
1. แผงโซล่าเซลล์ หรือ Photovoltaic cell ที่รู้จักกันในชื่อโซล่าเซลล์ (Photovoltaic Cell) ทำงานโดย การเปลี่ยนแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้าแบบกระแสตรงผ่านกระบวนการที่เรียกว่าปรากฏการณ์โฟโตโวลตาอิก (Photovoltaic Effect) ทำมาจากผลิตจากซิลิคอน (Silicon) ซึ่งเป็นสารกึ่งตัวนำไฟฟ้า (Semiconductor) มีสองประเภทหลัก:
- Monocrystalline Silicon: ผลิตจากผลึกซิลิคอนชนิดเดียว มีประสิทธิภาพสูงกว่า
- Polycrystalline Silicon: ผลิตจากผลึกซิลิคอนหลายผลึก ราคาถูกกว่าแต่ประสิทธิภาพต่ำกว่าเล็กน้อยนำมาหลอมและตัดให้เป็นแผ่นนำมาเรียงต่อกันและเชื่อมต่อแต่ละแผ่นด้วยวงจรไฟฟ้า
2. Inverter คือ คืออุปกรณ์ที่ใช้ในการแปลงพลังงานไฟฟ้ากระแสตรง (DC) ที่ได้จาก PV Module หรือแผงเซลล์แสงอาทิตย์ให้กลายเป็นพลังงานไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) ซึ่งเป็นรูปแบบของกระแสไฟฟ้าที่ใช้งานในระบบไฟฟ้าทั่วไป
3. Aluminuim Anodize Mounting Structure หรือโครงสร้างและอุปกรณ์อลูมิเนียม ยึดติดแผงโซล่าเซลล์กับหลังคาอาคาร
แผงโซล่าเซลล์มีอายุการใช้งานนานแค่ไหน?
แผงโซล่าเซลล์คุณภาพดีแบบ Mono Crystal Line มักมีอายุการใช้งานไม่ต่ำกว่า 30 ปี
ใช้เวลานานแค่ไหนในการติดตั้งโซล่าเซลล์บนหลังคาหรือ Solar rooftop ?
ระยะเวลาการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ขึ้นอยู่กับขนาดของโครงการ โดยปกติงานติดตั้งระบบโซล่าเซลล์บนหลังคาบ้านใช้เวลา 3-5 วัน งานระบบโซล่าเซลล์บนหลังคาอาคารหรือโรงงานใช้เวลา 2 สัปดาห์ ถึง 3 เดือน
ติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์บนหลังคา หรือระบบโซล่าเซลล์บนหลังคาต้องขอใบอนุญาตอะไรบ้าง ?
สำหรับการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์บนหลังคา หรือระบบโซล่าเซลล์บนหลังคาขนาดเล็ก หรือกำลังผลิตไม่เกิน 200 kWp ต้องใช้ใบอนุญาตดังนี้
1. ใบอนุญาต (อ.1) ก่อสร้างดัดแปลง / รื้อถอนอาคาร ยื่นขอต่อ สำนักงานเขต กทม.หรือสำนักงานท้องถิ่นในพื้นที่ติดตั้ง
2. ใบอนุญาตแจ้งการประกอบกิจการที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องขอรับใบอนุญาต ยื่นขอต่อ สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ)
3. ใบอนุญาตขอเชื่อมต่อระบบโครงข่ายไฟฟ้ากับการไฟฟ้า ยื่นขอต่อการไฟฟ้านครหลวง (เขตกทม.และปริมณฑล) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (ตจว.)
สำหรับการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์บนหลังคา หรือระบบโซล่าเซลล์บนหลังคาขนาดใหญ่ หรือกำลังผลิตเกิน 200 kWp ขึ้นไป ต้องใช้ใบอนุญาตดังนี้
1. ใบอนุญาต (อ.1) ก่อสร้างดัดแปลง / รื้อถอนอาคาร ยื่นขอต่อสำนักงานเขต กทม.หรือสำนักงานท้องถิ่นในพื้นที่ติดตั้ง
2. ใบอนุญาตแจ้งการประกอบกิจการที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องขอรับใบอนุญาต ยื่นขอต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ)
3. ใบอนุญาตผลิตพลังงานควบคุม (พค.2) ยื่นขอต่อ สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน
4. ใบอนุญาตขอเชื่อมต่อระบบโครงข่ายไฟฟ้ากับการไฟฟ้า ยื่นขอต่อการไฟฟ้านครหลวง (เขตกทม.และปริมณฑล) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (ตจว.)
การติดตั้งระบบโซล่าเซลล์หรือระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างไร?
ระบบพลังงานแสงอาทิตย์ช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานฟอสซิล ทำให้ลดมลพิษทางอากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
มีการรับประกันอุปกรณ์หลักในการติดตั้งระบบพลังงานแสงอาทิตย์หรือระบบโซล่าเซลล์อย่างไร?
บริษัทรับติดตั้งโซล่าเซลล์ มีการรับประกัน
ผลิตภัณฑ์แผงโซล่าเซลล์นาน 12 ปี รับประกันประสิทธิภาพ 30 ปี โดยปีที่ 30 ประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าต้องไม่ต่ำกว่า 87%
อินเวอร์เตอร์รับประกันสูงสุด 20 ปี
อุปกรณ์จับยึดแผงหรือ Solar Mounting รับประกันสูงสุด 12 ปี
แผงโซล่าเซลล์ หรือ PV Module ต้องมีการบำรุงรักษาบ่อยแค่ไหน?
การบำรุงรักษาแผงโซล่าเซลล์มักทำปีละ 2-3ครั้ง หรือทุกๆ 3-4 เดือนเพื่อทำความสะอาดและเพิ่มประสิทธิภาพของระบบฯ
บ้านหลังเก่าที่โครงสร้างไม่แข็งแรงสามารถติดตั้งระบบโซล่าเซลล์บนหลังคาหรือ Solar Rooftop ได้หรือไม่?
หากโครงสร้างหลังคาไม่แข็งแรงและมีความกังวลเรื่องน้ำหนักและความปลอดภัย บริษัทรับติดตั้งโซล่าเซลล์จะช่วยประเมินและปรับโครงสร้างหลังคา เพื่อรองรับระบบโซล่าเซลล์ได้อย่างเหมาะสม โดยใช้อุปกรณ์และโครงสร้างน้ำหนักเบาที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน อย่างไรก็ตามก่อนติดตั้งควรตรวจสอบความสามารถในการรับน้ำหนักของหลังคา โดยวิศวกรโครงสร้าง
บ้านพักอาศัยสามารถขอสินเชื่อเพื่อติดตั้งระบบโซล่าเซลล์บนหลังคาหรือ Solar Rooftop ได้หรือไม่?
ปัจจุบันหลายธนาคารมีสินเชื่อพลังงานสีเขียวให้เลือกหลายประเภท ทั้งที่เป็นแบบกู้และแบบเช่าซื้อสำหรับการติดตั้งโซล่าเซลล์ในบ้านพักอาศัย
ระบบโซล่าเซลล์บนหลังคา หรือระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Rooftop)สามารถใช้งานได้ในช่วงไฟดับหรือไม่?
หากติดตั้งระบบเป็นระบบ off grid หรือแบบ Hybrid ที่มีแบตเตอรี่เก็บไฟฟ้าที่ผลิตได้จากระบบโซล่าเซลล์สำรองไว้ใช้ยามไฟฟ้าดับหรือตอนกลางคืน แต่เนื่องจากแบตเตอรี่เก็บไฟฟ้ามีราคาสูงและจำกัดขนาดสำหรับระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ที่มีขนาดเล็ก เช่น บ้านพักอาศัย จึงทำให้ต้นทุนสูง การคืนทุนยาวนาน และอาจไม่คุ้มค่ากับการลงทุน
หลังคาที่เหมาะสมสำหรับติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ หรือระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ต้องมีลักษณะอย่างไร?
หลังคาที่เหมาะสมควรมีความแข็งแรงรองรับน้ำหนักโซล่าเซลล์ได้ และเหมาะสมกับอุปกรณ์ยึดจับแผงโซล่าเซลล์ โดยไม่ต้องดัดแปลงหรือเจาะยึด เพราะจะทำให้หลังคาแตกร้าว และเกิดการรั่วซึมภายหลัง นอกจากนี้ ควรตั้งอยู่ในที่ที่ไม่มีเงาบังจากต้นไม้ หรือสิ่งปลูกสร้างใดๆ และมีความลาดเอียง ประมาณอยู่ระหว่าง 10-30 องศา
เหตุเบื้องต้นที่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าของแผงโซล่าร์เซลล์ ?
1. แผงเซลล์แสงอาทิตย์โดนเงาจากอาคารสูงหรือสิ่งแวดล้อมข้างเคียงบดบัง
2. แผงเซลล์แสงอาทิตย์มีคราบสกปรก ทำให้แสงส่องผ่านมายังเซลล์ได้น้อยลง
3. กระจกหน้าแผงได้รับความเสียหาย ทำให้ผลิตไฟฟ้าทำได้ไม่ครบทุกเซลล์
4. ออกแบบการจัดสตริงของแผงไม่ถูกต้อง ทำให้ผลิตไฟฟ้าได้ไม่เต็มที่
แผงโซล่าเซลล์ หรือ แผงเซลล์แสงอาทิตย์ช่วยลดอุณหภูมิภายในอาคารได้อย่างไร ?
แผงเซลล์แสงอาทิตย์จะเป็นด่านแรกในการรับความร้อนจากแสงอาทิตย์และทำหน้าที่สะท้อนรังสีความร้อนจากดวงอาทิตย์บางส่วนออกไป คงเหลือรังสีความร้อนเพียงบางส่วน ที่สามารถผ่านแผงเซลล์แสงอาทิตย์ลงมายังหลังคาและพื้นที่ใช้ภายในอาคาร แผงเซลล์แสงอาทิตย์จึงมีส่วนทำให้อุณหภูมิภายในอาคารลดลง 1-3 องศา ทำให้ประหยัดค่าไฟและยืดอายุเครื่องปรับอากาศให้ยาวนาน
แผงโซล่าเซลล์ หรือแผงเซลล์แสงอาทิตย์ช่วยปกป้องหลังคาอาคารได้อย่างไร?
การติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์บนหลังคา ทำให้พื้นที่หลังคาส่วนใหญ่ที่ถูกคลุมด้วยแผงเซลล์แสงอาทิตย์ไม่โดนผลกระทบจากรังสีความร้อนของแสงแดด ความชื้นของน้ำ ความรุนแรงจากพายุ หรือ คราบสกปรกจากฝุ่น หรือเหตุการสุดวิสัยอื่นๆที่ทำให้หลังคาเกิดความเสียหาย ไม่กระทบกับหลังคาโดยตรง จึงถือว่าการติดโซล่าเป็นการยืดอายุการใช้งานของวัสดุมุงหลังคาให้ยาวนานขึ้นในทางอ้อม
น้ำหนักของระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์หรือการติดตั้งระบบเซลล์แสงอาทิตย์บนหลังคา อันหมายถึงน้ำหนังของแผงโซล่าเซลล์หรือ PV MODULE รวมถึง โครงสร้างรองรับแผง และอุปกรณ์ประกอบอื่นๆ มีน้ำหนักกี่กิโลกรัมต่อตารางเมตร?
น้ำหนักของระบบโซล่าเซลล์ที่ติดตั้งบนหลังคาโดยทั่วไปอยู่ประมาณ 10-30 กิโลกรัมต่อตารางเมตรขึ้นอยู่กับประเภทของแผงโซล่าเซลล์และโครงสร้างที่ใช้ติดตั้ง โดยมีรายละเอียดดังนี้
แผงเซลล์แสงอาทิตย์ขนาด 500W มีขนาด 2176 x 1098 x 35mm น้ำหนัก 26.3 kg/แผ่น
น้ำหนักของแผงเซลล์แสงอาทิตย์ คือ 11 kg/sq.m.
อุปกรณ์ต่อแผ่นหนัก 2 kg เมื่อรวมอุปกรณ์จับยึดแผงจะมีน้ำหนักทั้งสิ้น 13kg/sq.m.
ติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ หรือ ระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา อย่างไรให้มีประสิทธิภาพ?
1. วิเคราะห์พฤติกรรมปริมาณการใช้ไฟในเวลากลางวันว่ามีปริมาณเท่าไหร่
2. ออกแบบกำลังการผลิตของแผงโซล่าเซลล์ให้สอดคล้องกับปริมาณไฟที่ ต้องการใช้เพื่อไม่ให้เหลือทิ้ง
3. ออกแบบการวางแผงเซลล์แสงอาทิตย์ในทิศที่ผลิตไฟฟ้าได้สูงที่สุด และไม่มีอะไรบดบัง
4. เลือกอุปกรณ์หลักให้เหมาะสมกับการผลิต และการใช้งาน
5. ทำความสะอาดแผงให้สะอาดอยู่เสมอ เพื่อให้เซลล์แสงอาทิตย์รับแสงได้เต็มที่และผลิตไฟได้อย่างมีประสิทธิภาพ
6. ออกแบบให้ตำแหน่งอุปกรณ์แปลงไฟอยู่ใกล้กับแผง และ ใกล้กับตู้ควบคุมไฟฟ้าหลักของอาคารเพื่อลดการสูญเสียของไฟฟ้าที่ผลิตได้จากต้นทางไปยังปลายทาง
บริษัทรับเหมาติดตั้งโซล่าเซลล์ หรือ Solar EPC คืออะไร?
บริษัทรับติดตั้งโซล่าเซลล์หรือ Solar EPC คือผู้ให้บริการออกแบบ ติดตั้ง และจัดหา วัสดุอุปกรณ์ในการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ บนหลังคาสำหรับโรงงาน อาคาร หรือบ้านพักอาศัยตลอดจนขอใบอนุญาตที่เกี่ยวข้อง
การติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ บนหลังคา หรือ Solar rooftop ช่วยลดค่าไฟได้มากแค่ไหน?
การติดโซล่าเซลล์บนหลังคาโรงงานช่วยลดค่าไฟฟ้าได้ถึง 20-50% ต่อเดือน ขึ้นอยู่กับปริมาณการใช้ไฟฟ้าและกำลังการผลิตของระบบโซล่าเซลล์ที่ติดตั้ง
ติดตั้งโซล่าเซลล์บนหลังคาบ้านพักอาศัยต้องใช้งบประมาณเท่าไหร่?
ราคาติดตั้งโซล่าเซลล์สำหรับบ้านพักอาศัยเริ่มต้นที่ 90,000 บาท โดยขึ้นอยู่กับขนาดระบบและชนิดแผงโซล่าเซลล์และที่เลือกใช้
ข้อพิจารณาในการติดตั้งโซล่าเซลล์บนหลังคา หรือ Solar rooftop คืออะไรบ้าง?
มีพฤติกรรมในการใช้ไฟกลางวันเป็นหลัก และโครงสร้างหลังคาสามารถรับน้ำหนักเพิ่มได้อย่างน้อย 30 กิโลกรัม วัสดุมุงหลังคาไม่ใช่กระเบื้องดินเผา กระเบื้องกาบกล้วย
ระบบติดตั้งโซล่าเซลล์บนหลังคาหรือระบบผลิตไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์มีแบบไหนบ้าง?
1.ระบบ ON GRID เป็นระบบที่ใช้กับบริเวณที่มีไฟฟ้าเข้าถึง เชื่อมต่อกับระบบการไฟฟ้านครหลวง
หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (สำหรับไฟ 1 เฟส : ระบบไม่เกิน 5kW และ สำหรับไฟ 3 เฟส : ระบบไม่เกิน 10 kWp) จะใช้อุปกรณ์เพียงแผงโซล่าเซลล์ และอินเวอร์เตอร์เท่านั้น
- เมื่อใช้แล้วเหลือสามารถขายไฟฟ้าคืนได้
- กรณีที่ไฟฟ้าจากการไฟฟ้าดับ ระบบจะหยุดทำงาน
- การดูแลรักษาง่าย คืนทุนไวที่สุด ภายใน 4 ปี
2. ระบบ OFF GRID เป็นระบบที่เหมาะสมสำหรับพื้นที่ที่ไฟฟ้าเข้าไม่ถึง เช่น ที่นา ที่ไร่ สวน บนดอย และเกาะ
- อุปกรณ์เยอะ ยุ่งยาก ต้องมี control charge ต่อกับแผง ผลิตไฟแล้วส่งต่อมายังแบตเตอรี่เพื่อกักเก็บไฟ แล้วต่อมายังอินเวอร์เตอร์สำหรับแปลง
- ไฟ dc 12 v เป็น 220 v เพื่อนำไปใช้งานกับอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ไฟฟ้า 220 v
- แบตเตอรี่ ราคาสูง มีค่าบำรุงรักษามากมายทำให้คืนทุนช้า
3.ระบบ HYBRID เป็นส่วนผสมระหว่างระบบ Off Grid และ On Grid คือ มีการใช้ไฟจากทั้งการไฟฟ้า ไฟที่ผลิตได้จากแผงโซลาร์และไฟจากแบตเตอร์รี่ ในกรณีที่แผงโซลาร์ผลิตกระแสไฟฟ้ามากเกินกว่าการใช้งานแบตเตอรี่จะกักเก็บไฟ และสามารถดึงมาใช้ในช่วงเวลากลางคืน
- ระบบไฮบริดจะไม่สามารถขายกระแสไฟให้กับภาครัฐได้
- แบตเตอรี่มีราคาสูงมาก ทำให้มีระยะเวลาคืนทุน ไม่คุ้มค่าการลงทุน
แผงโซล่าเซลล์ หรือ PV MODULE มีกี่ประเภท?
1. MONO CRYSTALLINE
- ผลิตจากแท่ง silicon ที่มีความบริสุทธิ์
- ประสิทธิภาพการผลิตไฟ 19 -23%
- อายุใช้งานเกิน 25 ปี
- ทำงานได้ดีในภาวะแสงน้อย
2. POLY CRYSTALINE
- ผลิตจาก multi silicon (เหลว)
- ประสิทธิภาพการผลิตไฟ 13 -18 %
- อายุใช้งานไม่ถึง 20 ปี
- ราคาถูก
3. THIN FILM
- ผลิตจากสารที่เปลี่ยนแสงให้เป็นไฟฟ้า
- ประสิทธิภาพการผลิตไฟ 5 - 7 %
- อายุใช้งานไม่ถึง 10 ปี
ต้องการติดตั้งโซล่าเซลล์บนหลังคาเพื่อ ประหยัดไฟให้ได้ 50% ของค่าไฟ และคืนทุนไว ต้องทำอย่างไร?
1. 50%ของค่าไฟต้องมาจากการใช้ไฟกลางวันเป็นหลัก
2. ทิศในการติดตั้งแผงโซล่าหรือหลังคาบ้านหันแดดในรับทิศใต้ โดยไม่มีอะไรมาบดบัง
3. ตู้ไฟฟ้าหลักของบ้าน หรือ อาคาร ต้องอยู่ใกล้กับการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์
4. แผงโซล่าเซลล์ได้รับการทำความสะอาดอยู่เสมอ ไม่มีรอยแตกร้าว
5. แผงโซล่าเซลล์ เป็นแบบ Mono Crystalline half cut cell
หลังคาอาคารแบบไหนเหมาะสมกับการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์บนหลังคาโดยไม่เกิดการรั่วซึมของน้ำฝน แผงโซล่าเซลล์ยึดติดได้ดี แข็งแรงปลอดภัย?
1. หลังคา METAL SHEET
2. หลังคาซีแพคโมเนีย
3. หลังคาคอนกรีต
4. หลังคากระเบื้องลอนคู่
การประเมินกำลังการผลิตในการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา หรือการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ (Solar Rooftop ) สำหรับงานบ้านพักอาศัยเป็นอย่างไร?
บริษัทออกแบบ รับเหมาติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ หรือ Solar EPC จะประเมินให้จากหน่วยการใช้ไฟที่ระบุในบิลค่าไฟ เบื้องต้นหากมีการใช้ไฟในช่วงกลางวันอย่างน้อย 50% และ
- มีอัตราค่าไฟอยู่ที่ 2000 - 3000 บาท กำลังผลิตที่เหมาะสมคือติดตั้งขนาด 1 - 3 kWp ประหยัดได้ 1000 - 1500 บาท
- มีอัตราค่าไฟอยู่ที่ 3000 - 5000 บาท กำลังผลิตที่เหมาะสมคือติดตั้งขนาด 5 kWp ประหยัดได้ 1500 - 2500 บาท
- มีอัตราค่าไฟอยู่ที่ 5000 - 8000 บาท กำลังผลิตที่เหมาะสมคือติดตั้งขนาด 5 - 8 kWp ประหยัดได้ 2500 - 4000 บาท
- มีอัตราค่าไฟอยู่ที่ 9000 - 12000 บาท กำลังผลิตที่เหมาะสมคือติดตั้งขนาด 9 - 10 kWp ประหยัดได้ 4500 - 6000 บาท
- มีอัตราค่าไฟอยู่ที่ 13000 - 15000 บาท กำลังผลิตที่เหมาะสมคือติดตั้งขนาด 12 - 15 kWp ประหยัดได้ 6500 - 7500 บาท
- มีอัตราค่าไฟอยู่ที่ 16000 - 20000 บาท กำลังผลิตที่เหมาะสมคือติดตั้งขนาด 16 - 20 kWp ประหยัดได้ 6500 - 7500 บาท
ค่าใช้จ่ายในการออกแบบ รับเหมา ติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ หรือ Solar Rooftop สำหรับบ้านพักอาศัยอยู่ที่เท่าไหร่ ?
ติดตั้ง 5 kw ราคา 180,000 บาท
ติดตั้ง 10 kw ราคา 229,500 บาท
ติดตั้ง 15 kw ราคา 300,000 บาท
ติดตั้ง 20 kw ราคา 360,000 บาท
การติดตั้งโซล่าเซลล์บนหลังคา หรือ Solar Rooftop สามารถลดค่าไฟฟ้าเทียบเท่ากับการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าใดบ้างในบ้าน ?
ติดตั้ง 3 kw เทียบเท่า หลอดไฟ Led 7 หลอด ทีวี 1 เครื่อง ตู้เย็น 1 เครื่อง แอร์ 1 เครื่อง
ติดตั้ง 5 kw เทียบเท่า หลอดไฟ Led 15 หลอด ทีวี 2 เครื่อง ตู้เย็น 2 เครื่อง แอร์ 2 เครื่อง
ติดตั้ง 10 kw เทียบเท่า หลอดไฟ Led 20 หลอด ทีวี 4 เครื่อง ตู้เย็น 3 เครื่อง แอร์ 3 เครื่อง
ติดตั้ง 15 kw เทียบเท่า หลอดไฟ Led 25 หลอด ทีวี 5 เครื่อง ตู้เย็น 3 เครื่อง แอร์ 4 เครื่อง
ติดตั้ง 20 kw เทียบเท่า หลอดไฟ Led 27 หลอด ทีวี 6 เครื่อง ตู้เย็น 3 เครื่อง แอร์ 5 เครื่อง
ในการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา ( Solar Rooftop ) หรือ ระบบโซล่าเซลล์ บนหลังคาบ้านพักอาศัย ต้องมีที่ว่างบนหลังคาบ้านประมาณกี่ตารางเมตร?
ติดตั้ง 3 kw ใช้พื้นที่ 16 ตรม.
ติดตั้ง 5 kw ใช้พื้นที่ 24 ตรม.
ติดตั้ง 10 kw ใช้พื้นที่ 50 ตรม.
ติดตั้ง 15 kw ใช้พื้นที่ 75 ตรม.
ติดตั้ง 20 kw ใช้พื้นที่ 100 ตรม.
แผงโซล่าเซลล์หรือ PV Module 1 แผง มีกำลังผลิตเท่าไหร่ และบ้านพักอาศัยที่ต้องการติดระบบโซล่าเซลล์บนหลังคา ( Solar Rooftop ) ควรต้องติดตั้งทั้งหมดกี่แผง?
ปัจจุบัน แผงโซล่าเซลล์ที่จำหน่ายอยู่ในท้องตลาด มีกำลังผลิตสูงสุดอยู่ที่ 710 watt /แผง
ยี่ห้อแผงโซล่าเซลล์หรือ Photovoltaic Module Brand ที่เป็นที่นิยม และอยู่ใน TIER 1 หรือ top 10 ของโลก มียี่ห้ออะไรบ้างที่มีตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทย ?
1. Brand Longi กำลังผลิต 445 – 630 watt / แผง
2. Brand Jinko กำลังผลิต 430 - 720 watt / แผง
3. Brand JA Solar กำลังผลิต 460 – 640 watt / แผง
4. Brand Trina กำลังผลิต 450 – 725 watt / แผง
5. Brand Tongwei กำลังผลิต 400 – 670 watt / แผง
6. Brand Canadian Solar กำลังผลิต 380 – 625 watt / แผง
7. Brand Chint/Astronergy กำลังผลิต 460 – 720 watt / แผง
8. Brand Risen กำลังผลิต 400 – 740 watt / แผง
9. Brand DAS Solar กำลังผลิต 420 – 645 watt / แผง
10. Brand GCL System กำลังผลิต 420 – 675 watt / แผง
อุปกรณ์หลักในการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา หรือ ระบบโซล่าเซลล์ บนหลังคา (SOLAR ROOFTOP) ได้แก่อะไรบ้าง?
1. แผงโซล่าเซลล์ หรือ Photovoltaic cell ที่รู้จักกันในชื่อโซล่าเซลล์ (Photovoltaic Cell) ทำงานโดย การเปลี่ยนแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้าแบบกระแสตรงผ่านกระบวนการที่เรียกว่าปรากฏการณ์โฟโตโวลตาอิก (Photovoltaic Effect) ทำมาจากผลิตจากซิลิคอน (Silicon) ซึ่งเป็นสารกึ่งตัวนำไฟฟ้า (Semiconductor) มีสองประเภทหลัก:
- Monocrystalline Silicon: ผลิตจากผลึกซิลิคอนชนิดเดียว มีประสิทธิภาพสูงกว่า
- Polycrystalline Silicon: ผลิตจากผลึกซิลิคอนหลายผลึก ราคาถูกกว่าแต่ประสิทธิภาพต่ำกว่าเล็กน้อยนำมาหลอมและตัดให้เป็นแผ่นนำมาเรียงต่อกันและเชื่อมต่อแต่ละแผ่นด้วยวงจรไฟฟ้า
2. Inverter คือ คืออุปกรณ์ที่ใช้ในการแปลงพลังงานไฟฟ้ากระแสตรง (DC) ที่ได้จาก PV Module หรือแผงเซลล์แสงอาทิตย์ให้กลายเป็นพลังงานไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) ซึ่งเป็นรูปแบบของกระแสไฟฟ้าที่ใช้งานในระบบไฟฟ้าทั่วไป
3. Aluminuim Anodize Mounting Structure หรือโครงสร้างและอุปกรณ์อลูมิเนียม ยึดติดแผงโซล่าเซลล์กับหลังคาอาคาร
แผงโซล่าเซลล์มีอายุการใช้งานนานแค่ไหน?
แผงโซล่าเซลล์คุณภาพดีแบบ Mono Crystal Line มักมีอายุการใช้งานไม่ต่ำกว่า 30 ปี
ใช้เวลานานแค่ไหนในการติดตั้งโซล่าเซลล์บนหลังคาหรือ Solar rooftop ?
ระยะเวลาการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ขึ้นอยู่กับขนาดของโครงการ โดยปกติงานติดตั้งระบบโซล่าเซลล์บนหลังคาบ้านใช้เวลา 3-5 วัน งานระบบโซล่าเซลล์บนหลังคาอาคารหรือโรงงานใช้เวลา 2 สัปดาห์ ถึง 3 เดือน
ติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์บนหลังคา หรือระบบโซล่าเซลล์บนหลังคาต้องขอใบอนุญาตอะไรบ้าง ?
สำหรับการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์บนหลังคา หรือระบบโซล่าเซลล์บนหลังคาขนาดเล็ก หรือกำลังผลิตไม่เกิน 200 kWp ต้องใช้ใบอนุญาตดังนี้
1. ใบอนุญาต (อ.1) ก่อสร้างดัดแปลง / รื้อถอนอาคาร ยื่นขอต่อ สำนักงานเขต กทม.หรือสำนักงานท้องถิ่นในพื้นที่ติดตั้ง
2. ใบอนุญาตแจ้งการประกอบกิจการที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องขอรับใบอนุญาต ยื่นขอต่อ สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ)
3. ใบอนุญาตขอเชื่อมต่อระบบโครงข่ายไฟฟ้ากับการไฟฟ้า ยื่นขอต่อการไฟฟ้านครหลวง (เขตกทม.และปริมณฑล) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (ตจว.)
สำหรับการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์บนหลังคา หรือระบบโซล่าเซลล์บนหลังคาขนาดใหญ่ หรือกำลังผลิตเกิน 200 kWp ขึ้นไป ต้องใช้ใบอนุญาตดังนี้
1. ใบอนุญาต (อ.1) ก่อสร้างดัดแปลง / รื้อถอนอาคาร ยื่นขอต่อสำนักงานเขต กทม.หรือสำนักงานท้องถิ่นในพื้นที่ติดตั้ง
2. ใบอนุญาตแจ้งการประกอบกิจการที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องขอรับใบอนุญาต ยื่นขอต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ)
3. ใบอนุญาตผลิตพลังงานควบคุม (พค.2) ยื่นขอต่อ สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน
4. ใบอนุญาตขอเชื่อมต่อระบบโครงข่ายไฟฟ้ากับการไฟฟ้า ยื่นขอต่อการไฟฟ้านครหลวง (เขตกทม.และปริมณฑล) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (ตจว.)
การติดตั้งระบบโซล่าเซลล์หรือระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างไร?
ระบบพลังงานแสงอาทิตย์ช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานฟอสซิล ทำให้ลดมลพิษทางอากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
มีการรับประกันอุปกรณ์หลักในการติดตั้งระบบพลังงานแสงอาทิตย์หรือระบบโซล่าเซลล์อย่างไร?
บริษัทรับติดตั้งโซล่าเซลล์ มีการรับประกัน
ผลิตภัณฑ์แผงโซล่าเซลล์นาน 12 ปี รับประกันประสิทธิภาพ 30 ปี โดยปีที่ 30 ประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าต้องไม่ต่ำกว่า 87%
อินเวอร์เตอร์รับประกันสูงสุด 20 ปี
อุปกรณ์จับยึดแผงหรือ Solar Mounting รับประกันสูงสุด 12 ปี
แผงโซล่าเซลล์ หรือ PV Module ต้องมีการบำรุงรักษาบ่อยแค่ไหน?
การบำรุงรักษาแผงโซล่าเซลล์มักทำปีละ 2-3ครั้ง หรือทุกๆ 3-4 เดือนเพื่อทำความสะอาดและเพิ่มประสิทธิภาพของระบบฯ
บ้านหลังเก่าที่โครงสร้างไม่แข็งแรงสามารถติดตั้งระบบโซล่าเซลล์บนหลังคาหรือ Solar Rooftop ได้หรือไม่?
หากโครงสร้างหลังคาไม่แข็งแรงและมีความกังวลเรื่องน้ำหนักและความปลอดภัย บริษัทรับติดตั้งโซล่าเซลล์จะช่วยประเมินและปรับโครงสร้างหลังคา เพื่อรองรับระบบโซล่าเซลล์ได้อย่างเหมาะสม โดยใช้อุปกรณ์และโครงสร้างน้ำหนักเบาที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน อย่างไรก็ตามก่อนติดตั้งควรตรวจสอบความสามารถในการรับน้ำหนักของหลังคา โดยวิศวกรโครงสร้าง
บ้านพักอาศัยสามารถขอสินเชื่อเพื่อติดตั้งระบบโซล่าเซลล์บนหลังคาหรือ Solar Rooftop ได้หรือไม่?
ปัจจุบันหลายธนาคารมีสินเชื่อพลังงานสีเขียวให้เลือกหลายประเภท ทั้งที่เป็นแบบกู้และแบบเช่าซื้อสำหรับการติดตั้งโซล่าเซลล์ในบ้านพักอาศัย
ระบบโซล่าเซลล์บนหลังคา หรือระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Rooftop)สามารถใช้งานได้ในช่วงไฟดับหรือไม่?
หากติดตั้งระบบเป็นระบบ off grid หรือแบบ Hybrid ที่มีแบตเตอรี่เก็บไฟฟ้าที่ผลิตได้จากระบบโซล่าเซลล์สำรองไว้ใช้ยามไฟฟ้าดับหรือตอนกลางคืน แต่เนื่องจากแบตเตอรี่เก็บไฟฟ้ามีราคาสูงและจำกัดขนาดสำหรับระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ที่มีขนาดเล็ก เช่น บ้านพักอาศัย จึงทำให้ต้นทุนสูง การคืนทุนยาวนาน และอาจไม่คุ้มค่ากับการลงทุน
หลังคาที่เหมาะสมสำหรับติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ หรือระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ต้องมีลักษณะอย่างไร?
หลังคาที่เหมาะสมควรมีความแข็งแรงรองรับน้ำหนักโซล่าเซลล์ได้ และเหมาะสมกับอุปกรณ์ยึดจับแผงโซล่าเซลล์ โดยไม่ต้องดัดแปลงหรือเจาะยึด เพราะจะทำให้หลังคาแตกร้าว และเกิดการรั่วซึมภายหลัง นอกจากนี้ ควรตั้งอยู่ในที่ที่ไม่มีเงาบังจากต้นไม้ หรือสิ่งปลูกสร้างใดๆ และมีความลาดเอียง ประมาณอยู่ระหว่าง 10-30 องศา
เหตุเบื้องต้นที่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าของแผงโซล่าร์เซลล์ ?
1. แผงเซลล์แสงอาทิตย์โดนเงาจากอาคารสูงหรือสิ่งแวดล้อมข้างเคียงบดบัง
2. แผงเซลล์แสงอาทิตย์มีคราบสกปรก ทำให้แสงส่องผ่านมายังเซลล์ได้น้อยลง
3. กระจกหน้าแผงได้รับความเสียหาย ทำให้ผลิตไฟฟ้าทำได้ไม่ครบทุกเซลล์
4. ออกแบบการจัดสตริงของแผงไม่ถูกต้อง ทำให้ผลิตไฟฟ้าได้ไม่เต็มที่
แผงโซล่าเซลล์ หรือ แผงเซลล์แสงอาทิตย์ช่วยลดอุณหภูมิภายในอาคารได้อย่างไร ?
แผงเซลล์แสงอาทิตย์จะเป็นด่านแรกในการรับความร้อนจากแสงอาทิตย์และทำหน้าที่สะท้อนรังสีความร้อนจากดวงอาทิตย์บางส่วนออกไป คงเหลือรังสีความร้อนเพียงบางส่วน ที่สามารถผ่านแผงเซลล์แสงอาทิตย์ลงมายังหลังคาและพื้นที่ใช้ภายในอาคาร แผงเซลล์แสงอาทิตย์จึงมีส่วนทำให้อุณหภูมิภายในอาคารลดลง 1-3 องศา ทำให้ประหยัดค่าไฟและยืดอายุเครื่องปรับอากาศให้ยาวนาน
แผงโซล่าเซลล์ หรือแผงเซลล์แสงอาทิตย์ช่วยปกป้องหลังคาอาคารได้อย่างไร?
การติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์บนหลังคา ทำให้พื้นที่หลังคาส่วนใหญ่ที่ถูกคลุมด้วยแผงเซลล์แสงอาทิตย์ไม่โดนผลกระทบจากรังสีความร้อนของแสงแดด ความชื้นของน้ำ ความรุนแรงจากพายุ หรือ คราบสกปรกจากฝุ่น หรือเหตุการสุดวิสัยอื่นๆที่ทำให้หลังคาเกิดความเสียหาย ไม่กระทบกับหลังคาโดยตรง จึงถือว่าการติดโซล่าเป็นการยืดอายุการใช้งานของวัสดุมุงหลังคาให้ยาวนานขึ้นในทางอ้อม
น้ำหนักของระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์หรือการติดตั้งระบบเซลล์แสงอาทิตย์บนหลังคา อันหมายถึงน้ำหนังของแผงโซล่าเซลล์หรือ PV MODULE รวมถึง โครงสร้างรองรับแผง และอุปกรณ์ประกอบอื่นๆ มีน้ำหนักกี่กิโลกรัมต่อตารางเมตร?
น้ำหนักของระบบโซล่าเซลล์ที่ติดตั้งบนหลังคาโดยทั่วไปอยู่ประมาณ 10-30 กิโลกรัมต่อตารางเมตรขึ้นอยู่กับประเภทของแผงโซล่าเซลล์และโครงสร้างที่ใช้ติดตั้ง โดยมีรายละเอียดดังนี้
แผงเซลล์แสงอาทิตย์ขนาด 500W มีขนาด 2176 x 1098 x 35mm น้ำหนัก 26.3 kg/แผ่น
น้ำหนักของแผงเซลล์แสงอาทิตย์ คือ 11 kg/sq.m.
อุปกรณ์ต่อแผ่นหนัก 2 kg เมื่อรวมอุปกรณ์จับยึดแผงจะมีน้ำหนักทั้งสิ้น 13kg/sq.m.
ติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ หรือ ระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา อย่างไรให้มีประสิทธิภาพ?
1. วิเคราะห์พฤติกรรมปริมาณการใช้ไฟในเวลากลางวันว่ามีปริมาณเท่าไหร่
2. ออกแบบกำลังการผลิตของแผงโซล่าเซลล์ให้สอดคล้องกับปริมาณไฟที่ ต้องการใช้เพื่อไม่ให้เหลือทิ้ง
3. ออกแบบการวางแผงเซลล์แสงอาทิตย์ในทิศที่ผลิตไฟฟ้าได้สูงที่สุด และไม่มีอะไรบดบัง
4. เลือกอุปกรณ์หลักให้เหมาะสมกับการผลิต และการใช้งาน
5. ทำความสะอาดแผงให้สะอาดอยู่เสมอ เพื่อให้เซลล์แสงอาทิตย์รับแสงได้เต็มที่และผลิตไฟได้อย่างมีประสิทธิภาพ
6. ออกแบบให้ตำแหน่งอุปกรณ์แปลงไฟอยู่ใกล้กับแผง และ ใกล้กับตู้ควบคุมไฟฟ้าหลักของอาคารเพื่อลดการสูญเสียของไฟฟ้าที่ผลิตได้จากต้นทางไปยังปลายทาง