ติดต่อ Email veerapol@blpower.co.th, plecpn@blpower.co.th, thanij@blpower.co.th
นายพลกฤต กล่ำเครือ นายกสมาคมผู้ประกอบการและช่างพลังงานแสงอาทิตย์เปิดเผยว่า ค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (เอฟที) ที่ปรับขึ้นต่อเนื่องปีนี้ทำให้ค่าไฟฟ้าที่ประชาชนจ่าย รวมเฉลี่ยมีโอกาสแตะ 5บาทต่อหน่วยในงวดสุดท้ายปีนี้ (ก.ย.-ธ.ค.) และอาจทรงตัวสูงไปถึงปี 66ทำให้ผู้ประกอบการและประชาชนทั่วไปหันมาติดตั้งการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา (โซลาร์รูฟท็อป) มากขึ้น ประกอบโซลาร์ภาคประชาชนปีนี้รัฐเปิดรับซื้อไฟฟ้าส่วนเกินจากบ้านที่อยู่อาศัยปริมาณรวม 10 เมกะวัตต์ อัตรา 2.20บาทต่อหน่วย ทำให้เกิดแรงจูงใจเพิ่มขึ้น
“การติดตั้งโซลาร์รูปท็อป ของผู้ประกอบการที่ผลิตเองใช้เอง (IPS) ยังโตต่อเนื่องเช่นเดียวกับที่อยู่อาศัย ที่โครงการหมู่บ้านจัดสรรหันมาติดตั้งให้พร้อมตัวบ้านทำให้ภาพรวมตั้งแต่ต้นปี 65 การติดตั้งโตเฉลี่ย 10% จากปี 64แต่อุปสรรคตอนนี้คือต้นทุนสูงขึ้นจากเงินบาทอ่อนค่าทำให้การนำเข้าแผงโซลาร์จากจีนมีต้นทุนเพิ่มแต่เมื่อคำนวณแล้วก็ยังคุ้มทุนเมื่อเทียบกับค่าไฟที่แพงขึ้น”
นอกจากการส่งเสริมและสนับสนุนดังกล่าวอีกหนึ่งหัวใจสำคัญที่ทางกระทรวงพลังงานเร่งขับเคลื่อนคือ การขยายผลโมเดลBCG สู่การสร้างแนวทางปฏิบัติ ทั้งการกำจัดคาร์บอนจากเชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นศูนย์,การใช้ข้อมูลดิจิทัล เพื่อง่ายต่อการทำงาน, และ การวางกฎระเบียบ เป็นต้นพร้อมกันนี้ยังทำงานร่วมกับภาคส่วนต่างๆ เพื่อมองหาโอกาสใหม่ๆในการเพิ่มสัดส่วนพลังงานสะอาดและพลังงานหมุนเวียนให้กับไทยในอนาคตซึ่งหนึ่งในนั้นคือการร่วมงาน ASEAN Sustainable Energy Week ที่ อินฟอร์มามาร์เก็ตส์ จัดขึ้นโดยมีหมุดหมายที่ตรงกัน คือการนำพาไทยไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำได้อย่างเท่าทันต่อสถานการณ์โลก
นายนิเวช บุญวิชัย อุปนายกสมาคมผู้ประกอบการและช่างพลังงานแสงอาทิตย์กล่าวว่า ราคาแผงโซลาร์ขยับขึ้นจากต้นปี 20 เซนต์ต่อวัตต์มาสู่ 27-30 เซนต์ต่อวัตต์แม้ต้นทุนสูงขึ้นแต่ค่าไฟที่ผลิตใช้เองเฉลี่ยไม่เกิน 3 บาทต่อหน่วย หากกำลังติดตั้ง 3-5 กิโลวัตต์ ความคุ้มทุนอยู่ที่ 5-6 ปี ขณะนี้จ่ายค่าไฟเฉลี่ย 4บาทต่อหน่วยและจะสูงขึ้นอีก ค่าไฟแพงก็ยิ่งคุ้มค่า.