ติดต่อ Email veerapol@blpower.co.th, plecpn@blpower.co.th, thanij@blpower.co.th
ลองจินตนาการว่าจะดีเพียงใด หากประยุกต์งานตกแต่งเข้ากับระบบผลิตพลังงานในตัวล่าสุดนี้บริษัทสัญชาติยูเครนได้คิดค้นประดิษฐ์ solargaps แผงม่านหน้าต่างโซล่าเซลล์ขึ้นโดยจะหมุนตามทิศทางของดวงอาทิตย์อัตโนมัติสำหรับรับแสงเพื่อเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้าใช้สอยในบ้าน ควบคุมการทำงานง่ายผ่านระบบสมาร์ทโฟนช่วยประหยัดค่าไฟมากกว่าเดิม 70 เปอร์เซ็นต์แม้ว่าพลังงานแสงอาทิตย์ จะเป็นอีกหนึ่งแหล่งพลังงานสะอาดที่ได้รับความนิยมขณะนี้แต่กระนั้นแผงโซล่าเซลล์นั้นมีราคาค่อนข้างแพง ยากต่อการติดตั้งและมีเงื่อนไขใช้งานที่ค่อนข้างซับซ้อนและหากพักอาศัยอพาร์ทเม้นท์ก็จะไม่มีพื้นที่หลังคาให้ติดตั้งใช้งาน ด้วยเหตุนี้เองทางบริษัทจากประเทศยูเครน จึงได้คิดค้นสร้างแผงม่านโซล่าเซลล์อัจฉริยะ solargaps ขึ้นโดยทำหน้าที่เป็นได้ทั้งม่านตกแต่งหน้าต่างและแหล่งพลังงานสะอาดไปในตัวสามารถนำมาใช้งานให้เกิดประโยชน์ได้สำหรับผู้ใช้งานทั่วไปสำหรับม่านอัจฉริยะนี้จะดูดซับแสงแดดตลอดทั้งวันเพื่อนำไปผลิตพลังงานไฟฟ้าให้กับอุปกรณ์ต่างๆ ภายในบ้านของคุณซึ่งทางบริษัทผู้ผลิตเผยว่าจะช่วยลดค่าไฟภายในบ้านได้ถึง 70 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียวม่านอัจฉริยะ solargaps จะหมุนทำมุมไปตามทิศทางแสงอาทิตย์ในตลอดวันแบบอัตโนมัติเพื่อประสิทธิภาพในการกักเก็บแสงอาทิตย์ให้ได้มากที่สุด เมื่อเทียบอัตราการให้พลังงานแล้วแผงม่านขนาด 1 ตารางเมตรสามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ 100 วัตต์และสำหรับม่านหน้าต่างปกติทั่วไปที่มีขนาดประมาณ 2 ตารางเมตรก็จะสามารถผลิตไฟฟ้าสำหรับการใช้งานคอมพิวเตอร์โนต์บุ๊คได้ 1 เครื่องเลยทีเดียวและถ้าหากเป็นอาคารสำนักงานใหญ่แล้ว เมื่อติดตั้งแผงม่าน solargaps ทั่วทั้งตึกก็จะยิ่งมีความคุ้มค่ามากขึ้นไปอีกเช่นกันYevgen Erik ผู้คิดค้น ม่าน solargaps ได้เผยให้ได้ทราบว่าไอเดียของเขานั้นเริ่มจากวันหนึ่งเขาได้ใช้เวลาทั้งวันอยู่ในทุ่งหญ้าแถบชานเมืองและเขาก็ได้เห็นถึงกระบวนการธรรมชาติที่ดอกทานตะวันจะหันหน้าติดตามรับแสงอาทิตย์เสมอประกอบกับเขาเล็งเห็นว่าพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานสะอาดที่มีความคุ้มค่าด้านราคามากที่สุดจึงได้นำความคิดดังกล่าวมาประยุกต์ศึกษาวิจัยเพิ่มเติม จนเกิดความคิดในการสร้างม่าน solargapsขึ้นมา และเขาก็ได้โชว์ศักยภาพให้เห็นผ่านการติดตั้ง solargaps ไว้ที่ตึกสำนักงานของเขาเองการควบคุมระบบม่าน solargaps สามารถทำได้ง่านผ่านสมาร์ทโฟนรวมถึงค่าแสดงผลการกักเก็บพลังงานจะแจ้งให้ทราบบนจอสมาร์ทโฟนด้วยเช่นกันซึ่งผู้ใช้งานสามารถเลือกควบคุมปิดม่านเองได้อิสระหากต้องการความสลัวในห้องและตัวแผงม่านจะหมุนกลับไปทำมุมรับแสงเองแบบอัติโนมัติเมื่อผู้ใช้งานออกจากห้องไปแล้วประมาณ 5 นาที ทั้งนี้ระบบการทำงานของตัวม่านจะต้องเสียบเข้ากับปลั๊กไฟและต่อวงจรเข้ากับตัวแปลงพลังงานตลอดเวลา เพื่อเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้าซึ่งจะส่งต่อพลังงานไปอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ในบ้านนอกจากนี้หากพลังงานที่รับมาในแต่ละวันคงเหลือยังสามารถกักเก็บไว้ที่แบตเตอร์รี่สำรองสำหรับนำไปใงานในภายพลังได้ด้วย