ติดต่อ Email veerapol@blpower.co.th, plecpn@blpower.co.th, thanij@blpower.co.th
จากสถานการณ์ของราคาพลังงานในตลาดโลก ทั้งราคาน้ำมันเชื้อเพลิงและก๊าซธรรมชาติที่ยังคงตัวอยู่ในระดับสูงและ มีความผันผวน อันเนื่องมาจากสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนที่ยืดเยื้อมานาน ทำให้ราคาพลังงาน และค่าไฟฟ้าปรับราคาเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อต้นทุนของผู้ประกอบการ รวมทั้งค่าครองชีพของประชาชน และขีด ความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
จากสาเหตุดังกล่าวข้างต้นนี้ กกร. ได้มีการหารือร่วมกันทั้ง 3 สถาบัน และได้มีการจัดทำ “ข้อเสนอแนวทางแก้ไขปัญหา ต้นทุนพลังงานสูง” เพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤติพลังงานของประเทศ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ลงวันที่ 12 ตุลาคม 2565 ส่งให้ นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พิจารณามีทั้งหมด 7 แนวทาง ดังนี้
1. ข้อเสนอแก้ไขปัญหาค่าไฟฟ้า และต้นทุนพลังงานแพงในระยะสั้น
1.1 พิจารณานำเข้าพลังงาน เช่น น้ำมันสำเร็จรูปจากแหล่งที่มีราคาถูก เพื่อนำมาใช้ทดแทนการใช้ดีเซลจากแหล่งเดิมใน การผลิตไฟฟ้า รวมถึงน้ำมันสำเร็จรูปจากแหล่งเดิมๆ ที่นำเข้าจากแหล่งที่มีราคาสูง
1.2 สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) หรือ “ERC” ควรเปิดให้มีระบบการ bidding เพื่อซื้อไฟฟ้า ในรอบ 4 เดือน (ตามรอบคำนวณ Ft ) ที่เป็น idle capacity จากโรงไฟฟ้า SPP/VSPP ในราคาที่ต่ำกว่าดีเซล แทนการ นำเข้า LNG ทั้ง Long Term LNG และ Spot LNG มาใช้ในการผลิตไฟฟ้า
1.3 ทบทวนนำมาตรการการทำ demand response และ energy efficiency ร่วมกับภาคอุตสาหกรรม ทั้งการใช้ก๊าซ ธรรมชาติและไฟฟ้า รวมทั้งการลด หรือยกเว้นภาษี VAT และอื่นๆ เพื่อลดต้นทุนพลังงาน
2. ปรับนโยบายการผลิตไฟฟ้า เพื่อลดต้นทุนพลังงานของประเทศ: โดยลดการพึ่งพา LNG เพื่อใช้ผลิตไฟฟ้า และเปลี่ยนมาใช้พลังงานอื่นที่ต้นทุนต่ำกว่า
2.1 ส่งเสริมแผน PDP ภาคประชาชน (NEP ภาคประชาชน) สนับสนุนให้ประเทศไทยเร่งดำเนินการ เพื่อลดการ ใช้พลังงานฟอสซิล และนำพลังงานหมุนเวียนมาใช้ทดแทน โดยกำหนดเป้าหมายลดก๊าซเรือนกระจกให้สอดคล้องกับแผน NDC (Nationally Determined Contribution) มุ่งสู่การเป็น carbon neutrality อย่างเป็นรูปธรรม
2.2 ควรเร่งให้เกิดโรงไฟฟ้า แบบ distributed generation (< 90 MW) แบบ partial-firm ของโรงไฟฟ้า ที่ผลิตจาก ระบบโซล่าเซลล์หรือระบบพลังงานแสงอาทิตย์ และระบบกักเก็บพลังงาน (energy storage system: ESS) ที่มีต้นทุน น้อยกว่า 2.9 บาท/KWh ให้มากที่สุด และเร็วที่สุด เพราะจะเป็นการตรึงค่าไฟฟ้าให้อยู่ในระดับต่ำ
2.3 การประมูล โรงไฟฟ้าในอนาคต ทั้งโรงไฟฟ้าก๊าซหรือถ่านหิน จะต้องพิจารณาโครงสร้างราคาและความเสี่ยงของผู้ผลิตไฟฟ้าให้ เหมาะสม ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้ประชาชนและผู้ใช้ไฟฟ้าต้องมารับภาระความเสี่ยงเรื่องราคาของเชื้อเพลิงโรงไฟฟ้าทั้งหมด
2.4 ชะลอการ COD ของโรงไฟฟ้า IPP ที่ยังไม่ก่อสร้างออกไป เพื่อหลีกเลี่ยงภาระค่าความพร้อมจ่าย (AP) ของโรงไฟฟ้า
3. ปลดล็อกระเบียบและอุปสรรคในการเพิ่มการใช้พลังงานแสงอาทิตย์หรือระบบโซล่าเซลล์
3.1 สำหรับภาคอุตสาหกรรมที่ใช้เอง ทั้งผู้ผลิตไฟฟ้าเพื่อจำหน่ายให้ผู้ใช้ไฟฟ้าภาคอุตสาหกรรม (independent power supply : IPS) และผู้ผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้ภายในกิจกรรมของตนเอง (in-plant utility : IPU) โดยเสนอให้ภาครัฐ ควรปลดล็อกระเบียบใดๆ ที่เป็นอุปสรรค รวมทั้งเร่งอนุมัติมาตรการส่งเสริมของ BOI, ใบอนุญาต รง.4, ใบอนุญาต ผลิตไฟฟ้า และอื่นๆ ให้รวดเร็ว สำหรับการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์หรือระบบโซล่าเซลล์บนหลังคา ทุกประเภท เพื่อทดแทนการใช้พลังงานไฟฟ้าเดิมที่มีต้นทุนสูง
3.2 ส่งเสริมให้ติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์หรือระบบผลิตไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์บนหลังคาใช้เอง โดยใช้ระบบ net metering มาใช้กับระบบโซล่าเซลล์ที่ผลิตไฟฟ้าใช้เองในภาคอุตสาหกรรม
4. เร่งการเปิดให้ใช้ระบบโครงข่ายไฟฟ้าแก่บุคคลที่ 3 (TPA — third party access) เพื่อให้ระบบเครือข่าย
พลังงานของประเทศเกิดประโยชน์สูงสุด โดยเร่งให้เกิดการทำ third party assessment (TPA) ทั้งสายส่งไฟฟ้าและท่อ ย่อยของก๊าซธรรมชาติโดยด่วน เพื่อให้เกิดการผลิตไฟฟ้าที่มีต้นทุนต่ำในการโหลดใช้งาน และมีการใช้สายส่งไฟฟ้าและ ท่อย่อยของก๊าซธรรมชาติ ซึ่งถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานของประเทศที่ได้ลงทุนไปแล้วอย่างคุ้มค่า อีกทั้งเป็นการส่งเสริม การค้าเสรีทั้งไฟฟ้าและก๊าซธรรมชาติ
5. ควรมีหน่วยงานกำกับกิจการพลังงานและส่งเสริมตลาดแข่งขันอย่างแท้จริง และเป็นธรรม
ทั้งในส่วนของการผลิต, ส่ง, จำหน่ายพลังงานไฟฟ้า น้ำมัน ถ่านหิน และก๊าซธรรมชาติ ไม่ว่าจะโดยหน่วยงานของรัฐ หรือ ภาคเอกชน ควรต้องมี regulator มาคอยกำกับเพื่อความเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย
6. กำหนด transition period ให้ภาคอุตสาหกรรมปรับตัวลดการพึ่งพา LNG
โดยการประกาศนโยบายที่ไม่ขัดกับกฎหมาย หรือไม่ขัดกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยที่ให้อุตสาหกรรมที่ใช้ก๊าซ ธรรมชาติ
7. ควรส่งเสริม risk management ด้านพลังงานของประเทศ ด้วยการเพิ่มทางเลือกของพลังงานสำหรับ ภาคอุตสาหกรรมและอื่นๆ โดยส่งเสริมให้มีพลังงานทางเลือกมากกว่า 1 ชนิด นอกเหนือจากก๊าซธรรมชาติ
เช่น พลังงานหมุนเวียน (renewable energy) อาทิระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์หรือระบบผลิตไฟฟ้าจากโซล่า เซลล์บนหลังคา, น้ำมันเตา, LPG, ถ่านหิน (โรงงานเดิม) เพื่อพร้อมใช้งานสำหรับภาคอุตสาหกรรม โดยของให้รัฐ สนับสนุนในเรื่องต่างๆ ดังนี้
7.1 กฎระเบียบที่เอื้อต่อการใช้พลังงานทางเลือก ทั้งในด้านสิ่งแวดล้อม การใช้งาน และการกักเก็บ
7.2 สนับสนุนเงินลงทุน หรือการลงทุนในการปรับเปลี่ยนเครื่องจักร และอุปกรณ์ รวมทั้งระบบ logistics เช่น ระบบท่อ ส่ง เป็นต้น
7.3 ส่งเสริมให้มีคณะทำงานจัดทำแผนพลังงานของภาคอุตสาหกรรมร่วมกันระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน
https://thaipublica.org/2022/10/commerce-industry-banking-offer-solutions-expensiveenergy-costs/