ติดต่อ Email veerapol@blpower.co.th, plecpn@blpower.co.th, thanij@blpower.co.th

สอบถามเพิ่มเติม คลิก!

การส่งเสริม Solar Rooftop จากภาครัฐสู่ชุมชนในอดีตถึงปัจจุบัน

ประเทศไทยมีการใช้ประโยชน์จาก(Solar Rooftop) หรือ “เซลล์แสงอาทิตย์” หรือ “โซล่าเซลล์” (Solar Cell) เปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้ามานานแล้ว                

รูปธรรมเริ่มปี 2519 โดยหน่วยงานกระทรวงสาธารณสุขและมูลนิธิแพทย์อาสาฯ ปี 2526 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ. EGAT) เริ่มส่งเสริมและติดตั้งโซล่าเซลล์ แสงอาทิตย์ ผลิตไฟฟ้า และในการสำรวจเทคโนโลยี 10 อันดับในรอบศตวรรษที่ 20 หนึ่งในนวัตกรรม ที่ติดอันดับ ก็คือ  “พลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์” ถือเป็นพลังงานทดแทนทางเลือกที่สำคัญ                

ระยะแรกผู้คนหวังเรื่องโซล่าเซลล์กันมาก เป็นสิ่งประดิษฐ์อิเล็กทรอนิกส์อย่างหนึ่งที่จะมา เป็นพลังงานทดแทนได้ โดยเฉพาะในพื้นที่ห่างไกล หากชาวบ้านติดกันเยอะๆ เพียงคนละ 1 วัตต์ (watt) สำหรับประเทศไทยก็ได้เป็นล้านๆ วัตต์ ใครทำรีสอร์ทแบบอนุรักษ์ก็ช่วยลดโลกร้อน เช่น  ติดไฟโซล่าเซลล์รั้วเพียง 1 ดวง ใช้แผง 40 วัตต์ ราคา 4000 บาท แบตเตอรี่ 1 ลูก จะมีไฟฟ้าใช้เกือบทั้งคืน เป็นเวลา 20 ปีฟรี ใน 1 ปี จะลดไฟฟ้าได้ถึง 12000 วัตต์ เป็นต้น              

ปี 2552 อุตสาหกรรมพลังงานแสงอาทิตย์เป็นช่วงเศรษฐกิจชะลอตัว ภาครัฐโดย กฟผ. ไม่ค่อยสนับสนุน solar cell ข้อมูลสิ้นปี 2561 ประเทศไทยมีการติดตั้งโซล่าเซลล์ไปแล้วทั้งสิ้น 3,449 MW ประกอบด้วย solar farm, Solar Rooftop และโครงการต่างๆ ของภาครัฐ ซึ่งกระทรวง พลังงานไ ด้มีการส่งเสริมและสนับสนุนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ติดตั้งไปแล้ว 3,250 MW จากเป้าหมายการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ 6,000 MW ตามแผน PDP 2015 ทำให้ ยังคงเหลืออีก 2,750 MW ต่อมาได้จัดทำแผน PDP 2018    โดยมีเป้าหมาย การผลิตไฟฟ้าจาก พลังงานแสงอาทิตย์เพิ่มขึ้นอีก 12,725 MW ในอีก 18 ปี ข้างหน้า โดยแบ่งแยกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ โซล่าเซลล์ภาคประชาชน 10,000 MW และจากการไฟฟ้า ฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ในโครงการ ผลิตไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์บนทุ่นลอยน้ำ 2,725 MW และล่าสุดเป็นที่ฮือฮา แปลกใจมาก สำหรับ ผู้เกี่ยว ข้อง คือ อภิมหาโปรเจคโซล่าฟาร์ม 30,000 MW มูลค่ากว่า 600,000 ล้านบาท โดยกองทัพ บก เป็นหน่วยงานประสานโครงการ เป็นการผลิตพลังงานไฟฟ้า จำนวนมากที่เกินกว่าความต้องการ มาก และยังขาดนโยบายแผนงานโครงการจากภาครัฐ่อย่างเป็นรูปธรรมขึ้นมา
รองรับ                

คาดการณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้าในปี 2573 จากปัจจุบันอยู่ที่ไม่เกิน 30,000 MW จะเพิ่มขึ้นเป็น 70,000 MW ที่ความสามารถผลิตไฟฟ้า 44,443 MW รัฐบาลจึง ได้กำหน นโยบาย เรื่องการใช้พลังงานทดแทน โดยเลือกพลังงานแสงอาทิตย์ มาผลิตไฟฟ้าเป็นพลังงาน ทดแทน อันดับหนึ่ง            

ด้วยความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าภายในประเทศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่รัฐไม่สามารถ สร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มขึ้นได้ เนื่องจากมีการต่อต้านจากชุมชนในพื้นที่ เช่น โรงไฟฟ้า ถ่านหิน โรงไฟฟ้า ขยะ รัฐบาลจึงส่งเสริม ให้บ้านเรือนมีการผลิตไฟฟ้าพลังงาน แสงอาทิตย์ บนหลังคา ใช้เองโดยจัดทำ “โครงการSolar Rooftop” ตามมติสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ตั้งแต่ต้นปี 2558 เดิม กฟภ.(2553) มีโครงการ “ไฟฟ้าเอื้ออาทร” หรือโครงการเร่งรัดขยายบริการไฟฟ้า โดยระบบผลิตกระแสไฟฟ้า ด้วยพลังงาน แสงอาทิตย์แก่หมู่บ้านในพื้นที่ห่างไกล 300,000 หลังคาเรือน งบประมาณรวม 3,500 ล้านบาท แต่มีจุดอ่อน คือ ประชาชนไม่มีส่วนร่วมในการตัดสินใจและหวงแหน กล่าวคือ ภาครัฐและ กฟผ.ไม่ให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการใช้งานโซล่าเซลล์ การบริหารจัดการ จึงไม่มีประสิทธิ ภาพ  ไม่ก่อให้เกิดความเข้มแข็งของชุมชน              

โครงการ “โซล่าภาคประชาชน” หรือการผลิตไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์บนหลังคาที่อยู่อาศัย “Solar Rooftop” ภาคประชาชน เป็นระบบผลิตไฟฟ้า “แบบออนกริด” (on Grid) ขายไฟ เชิง พาณิชย์ให้แก่ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) และการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ในพื้นที่ กทม. นนทบุรี และสมุทรปราการ ซึ่ง คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เปิดรับยื่นคำร้องใช้ โซล่าเซลล์พร้อมรับซื้อไฟฟ้าหน่วยละ 1.68 บาท ตั้งแต่ พฤษภาคม 2562            

ปี 2562 นโยบายการส่งเสริมโซลาร์เซลล์ภาคประชาชน โดย กกพ. กระทรวงพลังงาน ได้ออกเกณฑ์รับซื้อไฟฟ้าที่ผลิตได้จากการติดโซล่าเซลล์บนหลังคาที่อยู่อาศัย (Solar Rooftop) เป็นโครงการต่อเนื่องจากมติ สปช.ใช้เวลาศึกษา 4 ปี สรุปคือ (1) มีขนาดไม่เกิน 10 kW (2) รับซื้อไฟฟ้าส่วนที่เกินจากการใช้เองในราคาไม่เกินหน่วยละ 1.68 บาท โดยมีระยะเวลารับซื้อ 10 ปี (3) ยอดรวมที่ติดตั้งทั่วประเทศไม่เกิน 100 MW ต่อปี เป็นเวลา 10 ปี (4) ต้องเดินไฟฟ้าภายในปี 2562 และ (5) ใครยื่นก่อนได้ก่อน            

นอกจากนี้ องค์กรกรีนพีซได้รณรงค์ร่วมผลักดันรัฐบาล นำงบประมาณฟื้นฟูเศรษฐกิจ เพื่อ ลงทุนติดตั้งโซล่ารูฟท็อปให้ครัวเรือน 1 ล้านหลัง โรงพยาบาล 8,170 แห่ง และโรงเรียน 31,021 แห่งทั่วประเทศภายในเวลา 3 ปี (พ.ศ.2564-2566) นอกจากนี้ พลังงานไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์ ยัง สามารถนำมาใช้เป็นเทคโนโลยีพลังงานทางเลือกของเกษตรกรไทย ช่วยให้ต้นทุนในการผลิตต่ำ ลงรวมถึงมีความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น การติดแผงโซล่าเพื่อผลิตพลังงาน ไฟฟ้า ใช้กับเครื่อง กำจัดมอดในข้าว เครื่องอบข้าวลดความชื้น หรือการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรอื่นๆ การติดตั้ง(Solar Rooftop)กับเครื่องสูบน้ำ โดยเฉพาะเครื่องสูบน้ำบาดาล

บทความที่น่าสนใจ

© 2021 Brilliant POWER Company Ltd., All Rights Reserved.​