ติดต่อ Email veerapol@blpower.co.th, plecpn@blpower.co.th, thanij@blpower.co.th
ระบบแผงโซล่า (solar panel) ดูดซึมและเปลี่ยนโฟตอนที่เปี่ยมพลังแสงอาทิตย์ธรรมชาติให้กลายเป็นรูปแบบพลังงานไฟฟ้าที่ใช้งานได้ มักเรียกพลังงานรูปแบบดังกล่าวว่า PV หรือระบบพลังงานโซล่าโฟโตวอลเทอิก (photovoltaic solar power systems)
ในปัจจุบันคนเลือกใช้ระบบพลังงานโซล่า หรือ solar energy มากขึ้น เพราะขณะนี้โซล่าเซลล์ ราคาถูก คนจึงหันมาติดตั้ง เนื่องจากมันช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานในระยะยาว และเป็นแหล่งทรัพยากรพลังงานหมุนเวียนที่สะอาด ปราศจากการปลดปล่อยแก๊ซ
คาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศ
ในบทความนี้เราจะกล่าวถึงส่วนประกอบหลักของการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ที่เหมาะสมกับการใช้ภายในครัวเรือน
แผงโซล่า
แผงโซล่า (solar panel) เป็นหัวใจหลักของระบบพลังงานโซล่าและยังเป็นส่วนประกอบที่เห็นได้ชัดที่สุดในระบบไฟฟ้าโซล่าตามครัวเรือนอีกด้วย แผงโซล่ามีสองประเภทคือ โมโนคริสตัลไลน์ (mono crystalline)และโพลีคริสตัลไลน์ (poly crystalline) แผงทั้งสองแบบทำงานในลักษณะคล้ายกัน แต่ว่าแบบโมโนคริสตัลไลน์จะมีประสิทธิภาพและราคาที่สูงกว่าเล็กน้อย จำนวนแผงโซล่าที่ต้องใช้ขึ้นอยู่กับปัจจัยความต้องการทางพลังงาน เช่น อากาศ ปริมาณแสงอาทิตย์สูงสุดในพื้นที่ อัตราประสิทธิภาพของแผงโซล่า และมีการวัดแสงสุทธิ (Net metering) ได้หรือไม่ แผงโซล่าให้ค่าอัตราส่งออกในหน่วยวัตต์ ซึ่งจะมีค่าอยู่ระหว่าง 10 และ 300 วัตต์ โดย 100 วัตต์ถือเป็นค่าที่ปกติที่สุด
สถานที่ติดตั้ง แผงโซล่าจะติดตั้งไว้นอกบ้าน ซึ่งมักจะอยู่บนหลังคาเพื่อเปลี่ยนแสงอาทิตย์ให้กลายเป็นไฟฟ้า แผงโซล่ามักจะติดตั้งไว้ในลักษณะต่อไปนี้
บนหลังคา
บนพื้นโดยตรง
อินเวอร์เตอร์
อินเวอร์เตอร์เป็นกลไกที่เปลี่ยนไฟฟ้ากระแสตรง (DC) ที่ผลิตโดยแผงโซล่าเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) ที่สามารถใช้ในบ้านได้
การมอนิเตอร์ประสิทธิภาพการทำงาน
ระบบการมอนิเตอร์แสดงให้เจ้าของบ้านเห็นว่ามีการสร้างกระแสไฟฟ้ามากน้อยเท่าไหร่ต่อชั่วโมง ระบบดังกล่าวสามารถบ่งบอกการเปลี่ยนแปลงในประสิทธิภาพการทำงานที่อาจเกิดขึ้นได้ และช่วยตรวจสอบปริมาณพลังงานไฟฟ้าของระบบโซล่าที่ผลิตได้และที่เหลือใช้ส่งคืนไปยังระบบโครงข่ายไฟฟ้าของรัฐ
แบตเตอรี่โซล่า
การติดตั้งแบตเตอรี่โซล่าจะช่วยเก็บสะสมพลังงานไฟฟ้าที่ระบบโซล่าผลิตได้ในตอนกลางวันเพื่อนำไปใช้ในภายหลัง หรือกักเก็บไว้ใช้ตอนกลางคืนในที่ที่ไม่มีไฟฟ้าใช้
เบรคเกอร์
แผงเบรกเกอร์เป็นที่ที่แหล่งพลังงานเชื่อมต่อกับวงจรไฟฟ้าในบ้านของคุณ ในแต่ละวงจรจะมีเบรกเกอร์ ซึ่งเป็นตัวป้องกันไม่ให้เครื่องใช้ไฟฟ้าในวงจรใช้ไฟฟ้ามากเกินไป ซึ่งอาจนำไปสู่การเกิดเหตุอันตรายได้
ชาร์จคอรโทรลเลอร์
ชาร์จคอนโทรลเลอร์ทำหน้าที่คงปริมาณโวลท์ที่ชาร์จให้ทำงานได้อย่างปกติสำหรับแบตเตอรี่ของระบบโซล่า จึงเป็นการป้องกันการชาร์จมากเกินไปและทำให้แบตเตอรี่ชาร์จพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
แแหล่งที่มา
https://www.cleanenergyauthority.com/solar-energy-resources/components-of-a-residential-solar-electric-system https://www.solarreviews.com/blog/what-equipment-do-you-need-for-a-solar-power-system
B02-blpower_co_th-HWY