ติดต่อ Email veerapol@blpower.co.th, plecpn@blpower.co.th, thanij@blpower.co.th
ระบบผลิตไฟฟ้าจากการ ติดแผงโซล่าเซลล์ หรือ Solar Rooftop เป็นระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ราคาที่ไม่มีขั้นตอนการเผาไหม้ หรือชิ้นส่วนที่ต้องให้มีการเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องเพื่อผลิตไฟฟ้าเหมือนพลังงานทดแทนอื่นๆ อย่างเช่นการผลิตไฟฟ้าที่ได้มาจากพลังงานลม พลังงานน้ำ หรือพลังงานชีวมวล ดังนั้นระบบผลิตไฟฟ้าแบบ solar rooftop นี้จึงสามารถติดตั้งได้ง่าย มีความทนทาน ปลอดภัย และง่ายต่อการบำรุงรักษา การติดตั้งสามารถเสร็จสมบูรณ์ได้ภายใน 1-12 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับขนาดโครงการโดยไม่รวมกระบวนการขอใบอนุญาต
พลังงานไฟฟ้าที่ได้จากการ ติดแผงโซล่าเซลล์ ผลิตได้จากแสงอาทิตย์นี้ สามารถทำงานร่วมกับกระแสไฟฟ้าจากระบบสายส่งหรือที่เรียกว่าระบบ Grid โดยไม่จำเป็นต้องมีระบบกักเก็บพลังงานหรือแบตเตอรี่ ปัจจุบันผู้ผลิตแผงโซลาร์เซลล์ส่วนใหญ่จะรับประกันประสิทธิภาพของแผงโซล่าเซลล์สูงสุดถึง 25 ปี เพียงอาศัยการทำความสะอาดและการตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ ก็สามารถจะยืดอายุการใช้งานของการติดแผงโซล่าเซลล์ได้อย่างยาวนานและมีประสิทธิภาพสูงสุดในการผลิตไฟฟ้าได้ไม่ต่ำกว่า 80%ในปีที่ 25
ทั้งนี้กระบวนการติดตั้ง Solar Rooftop หรือการรับติดตั้งแผงโซล่าเซลล์เพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้าบนหลังคามีดังนี้
1.สำรวจพฤติกรรมการใช้ไฟของอาคารเพื่อทราบกำลังผลิต และ ปริมาณของแผงโซล่าเซลล์ หรือ Solar PV ที่จะต้องติดตั้งบนหลังคาด้วยการดูหน่วยการใช้ไปจากบิลค่าไฟย้อนหลังอย่างน้อย 6 เดือน
2.สำรวจหลังคาที่จะติดตั้งว่ามีอาคารสูงอยู่ใกล้เคียงหรือไม่ หากมีและอาคารสูงดังกล่าวตั้งอยู่ในทิศที่เงาของอาคารจะพาดผ่านหลังคาที่จะติดตั้ง พื้นที่หลังคาบริเวณที่เงาพาดผ่าน ถือว่าเป็นพื้นที่ ที่ไม่เหมาะสมสำหรับรับ ติดตั้งแผงโซล่าเซลล์
3.สำรวจประเภทหลังคาว่าเป็นวัสดุอะไร และความลาดชันของหลังคาว่ามากน้อยขนาดไหน เพราะปัจจัยทั้ง 2 อย่างมีผลกับการเลือกใช้แผงโซล่าเซลล์ และอุปกรณ์ในการยึดติดแผงโซล่าเซลล์
4.ทิศทางของหลังคาที่ต้องการติดตั้ง หากตั้งหันเอียงไปทางทิศที่แสงอาทิตย์สามารถส่องได้ยาวนานในระหว่างวัน เช่นทิศใต้ หรือตะวันตกเฉียงใต้ จะถือว่าการติดตั้งระบบ Solar Rooftop ที่ได้ประสิทธิภาพในการผลิตสูงสุด หากหลังคาที่ต้องการติดไม่อยู่ในทิศที่เหมาะสม ทางวิศวกรผู้ออกแบบระบบจะต้องออกแบบให้มีโครงสร้างรองรับแผงหรือที่เรียกว่า Mounting ที่สามารถปรับทิศทางการรับแสงของแผ่นโซล่าเซลล์ไปทางทิศที่เหมาะสม
5.ตรวจสอบความแข็งแรงและการรับน้ำหนักของโครงสร้างหลังคาว่าสามารถรับน้ำหนักแผงโซล่าเซลล์ และอุปกรณ์อื่นๆได้หรือไม่ ซึ่งโดยปกติรับติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ จะมีน้ำหนักอยู่ที่ 15 -16 กก./แผ่น ดังนั้นวิศวกรโครงสร้างควรออกแบบหลังคาให้มีการรับน้ำหนักของการบรรทุกถาวร และ การบรรทุกจรได้ไม่ต่ำกว่า 50 กก./ตรม.
6.เมื่อสำรวจทุกอย่างและได้ข้อมูลครบถ้วนแล้ว วิศวกรจะต้องคำนวณกำลังการผลิตที่เหมาะสมกับพฤติกรรมการใช้ไฟไม่ให้เหลือทิ้งหรือไหลย้อนคืนสายส่งของการไฟฟ้าหรือเข้า Grid กรณีที่เป็น ระบบ Solar rooftop แบบที่ไม่มีการกักเก็บไฟที่ผลิตได้ในแบตเตอรี่ เมื่อผลิตไฟฟ้าได้แล้วแล้วต้องใช้ทันที เพราะแบตเตอรี่สำหรับกักเก็บไฟฟ้าที่ผลิตได้จากพลังงานแสงอาทิตย์ราคายังมีราคาแพงและไม่เป็นที่แพร่หลาย
นอกจากนี้วิศวกรผู้ออกแบบ ยังต้องออกแบบการจัดวางและการ รับติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ ตลอดจนกระทั่งขนาด การจัดวาง และการติดตั้งของอุปกรณ์หลักอื่นๆที่เกี่ยวข้อง อาทิเช่น อุปกรณ์แปลงไฟจากไฟฟ้ากระแสตรงของติดแผงโซล่าเซลล์เปลี่ยน เป็นกระแสสลับที่ใช้สำหรับอุปกรณ์ใช้ไฟฟ้าในบ้านหรือที่เรียกว่า inverter ตลอดจนกระทั่งออกแบบขนาดและสายไฟเชื่อมต่อ ระหว่างแผงโซล่าเซลล์ ไปยัง inverter และ ตู้ MDB (ตู้ควบคุมไฟหลักของอาคาร) เป็นต้น
7.ดำเนินการติดตั้ง โครงสร้างรองรับแผงโซล่าเซลล์ หรือ Mounting เพื่อยึดเข้ากับหลังคาซึ่งวัสดุของโครงสร้างดังกล่าวจะเป็นอลูมินั่ม ที่มีน้ำหนักเบา และไม่ขึ้นสนิม หลังจากนั้น จะดำเนินการติด แผงโซล่าเซลล์ หรือ Solar PV ตามที่วิศวกรได้ออกแบบไว้ ในขั้นตอนนี้ช่างจะต้องยึดติดแผงโซล่าเซลล์เข้ากับโครงอลูมินั่มให้แน่นหนาเพื่อป้องกันไม่ให้ติดแผงโซล่าเซลล์หลุดร่วงจากหลังคาลงมาด้านล่าง
8.ดำเนินการติดตั้งอุปกรณ์ประกอบอื่นๆของระบบนอกเหนือจากการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ อาทิเช่น ติดตั้ง inverter หรือการเดินสายไฟเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ ตลอดจนระบบน้ำทำความสะอาดแผ่นโซล่าเซลล์บนหลังคา ให้ครบสมบูรณ์
9.ทดสอบการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ราคาที่ผลิตได้จากแผงโซล่าเซลล์บนหลังคาหรือ Solar Rooftop
10.จ่ายไฟฟ้าที่ผลิตได้จากระบบโซล่าเซลล์ หรือ Solar Rooftop เข้าระบบไฟฟ้าหลักของอาคาร
อย่างไรก็ตามการติดแผงโซล่าเซลล์ในระบบผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ราคาบนหลังคานี้ จะมีอายุการใช้งานตามการรับประกันของผู้ผลิตเป็นระยะเวลา 25 ปี จึงเป็นเรื่องสำคัญที่เจ้าของโครงการ หรืออาคาร ที่ทำการติดตั้งระบบแผงโซล่าเซลล์บนหลังคา หรือ Solar Rooftop จะต้องจัดให้มีการ ดูแล ควบคุม บำรุง รักษาระบบ และ อุปกรณ์หลัก ซึ่งได้แก่ การล้างทำความสะอาดติดแผงโซล่าเซลล์ ตรวจสอบการทำงานของแผงโซล่าเซลล์ ตรวจสอบการทำงานของ inverter สายไฟและอุปกรณ์ อื่นๆ ไม่ต่ำกว่า 3 ครั้ง/ปี หรือทุกๆ 4 เดือน เพื่อให้ระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ราคาทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีอายุการใช้งานได้อย่างยาวนานตามการรับประกันของผู้ผลิต