ติดต่อ Email veerapol@blpower.co.th, plecpn@blpower.co.th, thanij@blpower.co.th
ขยะจากติดแผงโซล่าเซลล์เป็นซากผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือขยะพิษอันตรายที่ไม่ควรมองข้าม ข้อมูลปี 2560 มีการคาดการณ์ว่าการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์เพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้าใช้อย่างแพร่หลายในตอนนี้จะกลายเป็นขยะในวันหน้า เพราะการขยายตัวจากการเปิดรับซื้อไฟฟ้าโซล่าเซลล์จากภาครัฐ (โซล่ารูฟท็อปเสรี) รวมทั้งขยะ “แบตเตอรี่” หรือ energy storage และอุปกรณ์หลักอื่นๆ อาทิ inverter ที่มีปัญหาต้องจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้
โดยแผนส่งเสริมพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (AEDP : Alternative Energy Development Plan 2558-2579) จะมีแผงโซล่าเซลล์ที่ติดตั้งรวม 6,000 MW รวมซากขยะสะสมใน 20 ปีข้างหน้าถึง 7.5 แสนตัน (ประมาณ 36 ล้านแผง) โดยปัจจุบันมีการติดแผงโซล่าเซลล์แล้ว 2,600 MW (ประมาณ 15 ล้านแผง) และจะกลายเป็นขยะ 5.1 แสนตัน ซึ่งปัจจุบันใช้วิธี “ฝังกลบ” ซึ่งเป็นวิธีที่ดีที่สุดเท่านั้น แม้ผู้ผลิตจะระบุว่าแผงโซล่าจะมีอายุใช้งานที่ 25 ปี แต่ในระหว่างกระบวนการผลิตหรืออื่นๆ จะมีแผงที่ชำรุด หรือเสื่อมคุณภาพเกิดขึ้นในระบบต่อเนื่อง เพราะการติดแผงโซล่าเซลล์ในตลาดมีหลายเกรดและคุณภาพต่างกัน ฉะนั้นปริมาณขยะโซล่าจะ “มากกว่า” ที่คาดการณ์ไว้
สำหรับแนวทางจัดการแผงโซล่าที่มีความเป็นไปได้ คือ (1) คัดแยกด้วยมือ (2) รีไซเคิล และ (3) การบดและเข้ากระบวนการสกัดโลหะออกมาใช้ประโยชน์สูงสุด เช่น เงิน, ซิลิคอน, อะลูมินัม, ตะกั่ว, แคดเมียม และอินเดียม ซึ่งนำไปใช้ในอุตสาหกรรมอื่น เช่น นำไปเป็นส่วนประกอบของจอแอลอีดี (LED) ปัจจุบันแนวทางตาม (2)(3) ยังมีปริมาณน้อยไม่คุ้มทุน
นโยบายส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ (โซล่าเซลล์) จำนวน 6,000 MW ใน พ.ศ.2579 ทำให้มีการประเมินว่าปริมาณซากแผงโซล่าเซลล์ สะสมตั้งแต่ พ.ศ.2545-2559 มีจำนวน 388,347 ตัน และคาดว่าปริมาณซากสะสมถึง พ.ศ.2563 จะอยู่ที่ 551,684 ตัน หรือ 18.38 ล้านแผง ที่ต้องกำจัด หากการติดแผงโซล่าเซลล์หมดอายุการใช้งานจำนวนมากและมีการกำจัดอย่างไม่ถูกต้อง จะเกิดเป็นขยะพิษที่เราไม่ควรมองข้ามเพราะสารพิษที่อยู่ในซากแผงโซล่าเซลล์ก่อให้เกิดปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชน รวมถึงก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกที่เป็นปัญหาโลกร้อน เนื่องจากมีสารคาร์บอนไดออกไซด์และสารไดออกซินที่เกิดจากการเผาที่ไม่ถูกต้อง
การ ติดแผงโซล่าเซลล์ยังเป็นความหวังของสังคมโลก และสังคมไทย แต่นโยบายและการบริหารจัดการต้องมีอย่างครบวงจร เพราะมิเช่นนั้น ขยะอิเล็กทรอนิกส์จำนวนมหาศาลที่รออยู่จะจัดการแก้ไขอย่างไร